Skip to main content
Todo sobre los índices bursátiles
Todo sobre los índices bursátiles

ดัชนีหุ้นคืออะไร?

ดัชนีหุ้นจะใช้เพื่ออธิบายถึงผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นหรือเฉพาะบางส่วนและเพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน โดยทั่วไปดัชนีใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาหุ้น NASDAQ, S&P 500 และ Dow Jones Industrial Average เป็นตัวอย่างของดัชนีหุ้น ในบทความนี้เราจะบอกคุณเกี่ยวกับดัชนีตลอดต่างๆ ตลอดจนวิธีสร้างรายได้จากดัชนีเหล่านั้น

ดัชนีคืออะไร

เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะติดตามทุกหลักทรัพย์ที่มีการเทรดกัน เราจึงเลือกตัวอย่างตลาดที่มีขนาดเล็กซึ่งเป็นตัวแทนของทั้งตลาดทั้งหมด ในทำนองเดียวกันกับการสำรวจความคิดเห็นที่ผู้สำรวจสุ่มตัวอย่างเพื่อวัดความเชื่อมั่นของประชากร กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กนี้เรียกว่าดัชนีซึ่งเป็นตัวชี้วัดทางสถิติในการเปลี่ยนแปลงพอร์ตหุ้นที่เป็นส่วนหนึ่งของตลาดโดยรวม

นักลงทุนและผู้เข้าร่วมตลาดอื่นๆ ใช้ดัชนีเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของตลาดหุ้น ตามหลักการณ์แล้ว การเปลี่ยนแปลงราคาของดัชนีหมายถึงสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของหุ้นที่รวมอยู่ในดัชนีอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ถ้าดัชนีเพิ่มขึ้น 1% นั่นหมายความว่าหุ้นต่างๆ ที่ก่อให้เกิดดัชนีนี้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1%

ลองดูวิธีการทำงานของดัชนีโดยใช้ตัวอย่างง่ายๆ:

สมมติว่าเราสร้างดัชนีเพื่อติดตามราคาแกลลอนนม
การบริโภคนมมีราคา 2.00 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอน
ค่าดัชนีเริ่มต้นคือ 1

  • เมื่อนมมีราคา $2.50 ดัชนีของเราจะเท่ากับ 1.25 ซึ่งแสดงถึงราคาที่เพิ่มขึ้น 25% ของราคานม
  • ถ้านมมีราคา $2.25 ดัชนีก็จะเป็น 1.15 การเปลี่ยนแปลงที่ .10 สะท้อนถึงการลดลงของราคานม 10%

หากคุณเป็นผู้จำหน่ายนม คุณอาจพบว่าดัชนีนมมีประโยชน์อย่างมาก ฉันจะใช้มันแทนที่จะไปร้านทุกวันเพื่อจดราคาของนมของคู่แข่งแต่ละรายและวาดค่าเฉลี่ย

ดัชนีหุ้นมีผู้ใช้คือ เทรดเดอร์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการ แต่ละคนจะใช้ข้อมูลในวิธีแตกต่างกันไป

ประวัติศาสตร์ของการกำเนิดดัชนี

ในปีพ. ศ. 2439 นายชาร์ลส์ ดาว (Charles Dow) กับเพื่อนนักข่าว นายเอ็ดเวิร์ด โจนส์ (Edward Jones) ก่อตั้ง บริษัทดาวโจนส์ (Dow Jones) & บริษัทสร้างดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average - DJIA) ซึ่งเป็นดัชนีตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก (ดัชนีที่เก่าแก่ที่สุดคือดัชนีดาวโจนส์ขนส่ง หรือ Dow Jones Transportation Index ซึ่งก็สร้างขึ้นโดยนายดาวเช่นกัน) ในตอนนั้น DJIA มีอุตสาหกรรมที่จดทะเบียน 12 แห่งรวมถึง General Electric ซึ่งเป็นองค์กรแรกเริ่มที่ยังคงอยู่ในดัชนีเท่านั้น ปัจจุบันนี้ดาวโจนส์เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ติดตาม 30 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในดัชนีที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก

ฟังก์ชันแรกเริ่มของดัชนีต่างๆ คือการทำหน้าที่เป็นบารอมิเตอร์ของตลาดหุ้นซึ่งชี้วัดให้ผู้สังเกตการณ์เห็นความหิวกระหายของนักลงทุนหรือโอกาสในการขายหุ้นไอพีโออย่างเป็นรูปธรรม ดัชนีต่างๆ ก็ยังคงทำเช่นนี้อยู่จนถึงจุดๆ หนึ่ง

อย่างไรก็ตามในยุค 20 (ช่วงปี พ. ศ. 2463 - 2472) ดัชนีต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นจากบารอมิเตอร์กลายมาเป็นเกณฑ์ซึ่งใช้ในการวัดประสิทธิภาพของตลาด ในยุค 60 (ช่วงปีพ. ศ. 2503 - 2512) ดัชนีต่างๆ ได้รับการออกแบบด้วย Capital Asset Pricing Model (CAPM) พร้อมกับการถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด ดัชนีต่างๆ เริ่มถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายตลาดอ้างอิงซึ่งสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของผู้จัดการลงทุนได้

วิธีการคำนวณดัชนี

ก่อนยุคดิจิตอล การคำนวณราคาของดัชนีหุ้นต้องเป็นไปอย่างเรียบง่ายที่สุด DJIA เดิมถูกคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยแบบง่ายๆ นั่นคือ รวมราคาของ 12 บริษัทเข้าด้วยกันแล้วหารจำนวนดังกล่าวด้วย 12 การคำนวณเหล่านี้ทำให้ดัชนีไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการเป็นค่าเฉลี่ย แต่ก็ยังใช้ประโยชน์ได้

วันนี้ DJIA ใช้วิธีการอื่นที่เรียกว่าการถ่วงน้ำหนักตามราคาซึ่งส่วนประกอบต่างๆ จะถูกถ่วงน้ำหนักตามราคาของพวกมัน ดัชนีคำนวณโดยการรวมราคาปัจจุบันของหุ้น 30 หุ้นและหารด้วยสิ่งที่เรียกว่า Divisor Dow ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใช้ในการรักษาความต่อเนื่องในอดีตของดัชนี ตัวเลขนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องโดยการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในตลาด เช่น ส่วนของผู้ถือหุ้น การ spin-off และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของส่วนประกอบของดาวโจนส์ ตัวอย่างเช่นในปีพ. ศ. 2551 มูลค่าของ Divisor Dow เท่ากับ 0.125553 ทุกวันนี้อยู่ที่ 0.14602128057775

ดัชนีส่วนใหญ่ถ่วงหนักบริษัทตามมูลค่าตามราคาตลาดแทนราคา หากราคาตลาดของบริษัทอยู่ที่ 1,000,000 ดอลลาร์และมูลค่าของหุ้นทั้งหมดของดัชนีนี้คือ 100,000,000 ดอลลาร์ บริษัทจะมีมูลค่า 1% ของดัชนี ดัชนีมีการคำนวณอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลสะท้อนของตลาดที่ถูกต้องตลอดช่วงการเทรด

ดัชนียอดนิยม

Dow Jones Industrial Average หรือ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์

Dow Jones

Dow Jones Industrial Average (DJIA) คือหนึ่งในดัชนีที่เก่าแก่ที่สุด รู้จักกันมากที่สุด และมีการใช้มากที่สุดในโลก DJIA รวมหุ้นของ 30 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา DJIA เป็นดัชนีราคาถ่วงน้ำหนัก เดิม DJIA คำนวณโดยการรวมราคาต่อหุ้นของหุ้นของแต่ละบริษัทในดัชนีแล้วหารด้วยจำนวนบริษัท นั่นเป็นเหตุผลที่เรียกว่าค่าเฉลี่ย แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้คำนวณง่ายๆ แบบนี้อีกต่อไป ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หุ้น spin-off ต่างๆ และเหตุการณ์อื่นๆ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวหารซึ่งทำให้มันกลายเป็นตัวเลขที่มีจำนวนน้อยมาก (น้อยกว่า 0.2)

DJIA เป็นประมาณหนึ่งในสี่ของมูลค่าของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งหมด UU แต่การเปลี่ยนแปลงร้อยละของดาวโจนส์ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าตลาดทั้งหมดได้ลดลงตามเปอร์เซ็นต์เดียวกัน เนื่องจากฟังก์ชันนี้มีถ่วงน้ำหนักตามราคาของดาวโจนส์ ปัญหาพื้นฐานคือการเปลี่ยนแปลง $1 ในราคาหุ้นของ $120 ในดัชนีจะมีผลกับ DJIA มากกว่าการเปลี่ยนแปลง $1 ในราคาหุ้นของ $20 แม้ว่าหุ้นของราคาที่สูงกว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพียง 0.8% แต่อีกตัวที่ 5% ก็ตาม

การเปลี่ยนแปลงในดาวโจนส์เป็นการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับผลกำไรและความเสี่ยงของบริษัทขนาดใหญ่ที่รวมอยู่ในค่าเฉลี่ย เนื่องจากทัศนคติทั่วไปเกี่ยวกับหุ้นขนาดใหญ่มักแตกต่างจากทัศนคติต่อหุ้นขนาดเล็ก หุ้นระหว่างประเทศหรือหุ้นเทคโนโลยี ดังนั้นดาวโจนส์ไม่ควรถูกนำมาใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตลาดในส่วนอื่นๆ ในทางกลับกันเนื่องจากดาวโจนส์ประกอบด้วยบริษัทที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา ในสหรัฐอเมริกาการแกว่งตัวขนาดใหญ่ในดัชนีนี้โดยทั่วไปสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดทั้งหมดถึงแม้ว่าจะมีขนาดไม่เท่ากันก็ตาม

S&P 500

ดัชนี Standard & Poor's 500 (โดยทั่วไปรู้จักในชื่อ S&P 500) คือดัชนีที่ใหญ่กว่าและมีความหลากหลายมากกว่า DJIA S&P 500 ประกอบด้วยหุ้นที่ขายได้มากที่สุด 500 แห่งในสหรัฐอเมริกาคิดเป็นประมาณ 80% ของมูลค่ารวมของตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยทั่วไปดัชนี S&P 500 เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในการเคลื่อนไหวของตลาดสหรัฐฯ

เนื่องจากดัชนี S & P 500 ถูกถ่วงน้ำหนักโดยตลาด (หรือที่เรียกว่า weighted capitalization) หุ้นแต่ละตัวในดัชนีจะแสดงตามสัดส่วนมูลค่าตามราคาตลาดรวม กล่าวอีกนัยหนึ่งถ้ามูลค่าตลาดรวมของ 500 บริษัท ใน S&500 ลดลง 10% มูลค่าของดัชนีก็จะลดลง 10% ด้วยเช่นกัน

ในขณะที่หุ้นทั้งหมดใน DJIA เคลื่อนไหว 10% ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้ดัชนีเปลี่ยนแปลงไป 10% หลายคนเชื่อว่าการถ่วงน้ำหนักตลาดที่ใช้ใน S&P 500 เป็นการวัดการเคลื่อนไหวของตลาดที่ดีกว่าเนื่องจากสามารถเปรียบเทียบพอร์ตการลงทุนสองพอร์ตได้ง่ายขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวัดเป็นเปอร์เซ็นต์แทนที่จะเป็นจำนวนเงิน

ดัชนี S&P 500 ประกอบด้วยบริษัทในหลากหลายภาค เช่น พลังงาน อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ การเงินและสินค้าอุปโภคบริโภค

Nasdaq Composite

Nasdaq

นักลงทุนส่วนใหญ่รู้ว่า Nasdaq คือตลาดแลกเปลี่ยนที่มีการหุ้นเทคโนโลยี ดัชนี Nasdaq Composite เป็นดัชนีที่มีการถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของหุ้นทั้งหมดที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ดัชนีนี้รวมถึงบริษัทบางแห่งที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย

ถึงแม้ว่าดัชนีนี้จะเป็นที่รู้จักในกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่มีขนาดใหญ่ แต่ Nasdaq Composite ยังรวมถึงหุ้นของอุตสาหกรรมทางการเงิน อุตสาหกรรม ประกันภัยและการขนส่งด้วยเช่นกัน Nasdaq Composite ประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งแตกต่างจากดาวโจนส์และ S&P 500 นอกจากนี้ยังมี บริษัทเก็งกำไรหลายแห่งที่มีมูลค่าตามราคาตลาดน้อย ดังนั้นการเคลื่อนไหวของ Nasdaq Composite โดยทั่วไปหมายถึงประสิทธิภาพการของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีรวมทั้งทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อการเก็งกำไรมากขึ้น

DAX 30

DAX คือดัชนีตลาดหุ้นที่เป็นตัวแทนของบริษัทเยอรมัน 30 แห่งที่ใหญ่ที่สุด และมีสภาพคล่องมากที่สุดในตลาดหลักทรพย์แฟรงค์เฟิร์ต ราคาที่ใช้ในการคำนวณดัชนี DAX มาจาก Xetra ซึ่งเป็นระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DAX เป็นดัชนีแบบถ่วงน้ำหนักราคาตลาดเพื่อวัดประสิทธิภาพของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 30 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี ดังนั้นจึงเป็นตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเยอรมันและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อหุ้นเยอรมันที่น่าเชื่อถือ

DAX ถูกสร้างขึ้นในปีพ. ศ. 2531 โดยมีค่าดัชนีพื้นฐานเท่ากับ 1,000 บริษัทสมาชิก DAX มีสัดส่วนประมาณ 75% ของตลาดทุนรวมที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต

DAX เป็นดัชนีตลาดหุ้นยุโรปหลักในตลาดโลก

FTSE 100

ชื่อ FTSE 100 มาจากการเป็นเจ้าของ 50/50 โดย Financial Times และ London Stock Exchange (LSE) ดังนั้น FT และ SE จึงรวมเป็น FTSE นอกจากนี้ยังหมายถึงการประกอบกันของ 100 บริษัท

FTSE 100 (เรียกอีกชื่อว่า Footsie) เป็นดัชนีประกอบด้วย 100 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด (ตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (LSE) บริษัทเหล่านี้มักถูกเรียกกันว่า "frontline" และดัชนีถือเป็นข้อบ่งชี้การดำเนินงานของบริษัทใหญ่ๆ ที่จดทะเบียนในสหราชอาณาจักรที่ดี

บริษัทที่มีขนาดใหญ่มีสัดส่วนดัชนีมากกว่าเนื่องจากมีการถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตามราคาตลาด FTSE 100 ได้รับการจัดการโดยกลุ่ม FTSE การคำนวณ FTSE นั้นทำในแบบเรียลไทม์ และเมื่อตลาดเปิดจะทำการอัพเดตและเผยแพร่ทุกๆ 15 วินาที

ดัชนี FTSE 100 มักถูกมองว่าเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของบริษัทจากสหราชอาณาจักรที่ได้รับการจัดอันดับและเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตามบริษัทส่วนใหญ่ที่รวมอยู่ในดัชนีนี้อยู่ในประเทศอื่นๆ

การเทรดดัชนี CFD

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง

CFD ย่อมาจาก Contracts for Difference หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาดปัจจุบัน CFD ทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสให้การเจรจาดัชนีหุ้นทั้งหมดของโลกจากแพลตฟอร์มเดียว และยังสามารถเข้าถึงเลเวอเรจได้ในระดับที่น่าเหลือเชื่อ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CFD คุณสามารถคลิกที่ลิงก์นี้

โดยการใช้ดัชนี CFD คุณสามารถสร้างรายได้จากความผันผวนของดัชนีได้เช่นเดียวกับมูลค่าของหุ้นหรืออัตราแลกเปลี่ยน

เมื่อถือ CFD position เทรดเดอร์จะตกลงกันว่าจะเปลี่ยนผลต่างของราคาของดัชนีจากระยะเวลาหนึ่งเป็นอีกเวลาหนึ่ง อีกนัยหนึ่งก็คือ CFD เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อ (คุณ) กับโบรกเกอร์เพื่อแลกเปลี่ยนผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของดัชนีกับมูลค่าในอนาคต หากคุณถือ Long position และผลต่างเป็นบวก โบรกเกอร์ก็จะจ่ายเงินให้คุณ แต่คุณต้องจ่ายให้โบรกเกอร์หากผลต่างเป็นลบ

ราคาของดัชนี CFD เกี่ยวข้องโดยตรงกับราคาในอนาคตที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนไหวของราคาดัชนี CFD ช่วยทำให้ทราบการเคลื่อนไหวของอนาคตที่เกี่ยวข้อง

การเทรด CFD ถือเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของแต่ละตลาดหุ้นโดยทั่วไปมากกว่าที่จะเป็นการเลือกหุ้นต่างๆ ในความเป็นจริงดัชนี CFD มักจะถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นแต่ละตัวเนื่องจากความเสี่ยงจะกระจายไปทั่วทั้งตลาดมากกว่าอยู่ที่ บริษัทเดียว

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ และคุณสามารถเทรด CFD ในดัชนีได้โดยการเปิดบัญชีทดลองฟรีที่ Libertex คุณสามารถฝีกฝนการเทรด CFD ด้วยบัญชีทดลองโดยไม่ต้องเสี่ยงอะไร นอกจากนี้ เราแนะนำให้คุณเรียนรู้การเทรดในหลักสูตรออนไลน์ฟรี

ทำไมถึงต้องเทรดกับ Libertex?

  • เข้าใช้งานบัญชีเดโมแบบไม่มีค่าใช่จ่าย
  • การช่วยเหลือทางเทคนิค 5 วันต่อสัปดาห์, 24 ชั่วโมงต่อวัน
  • เลเวอเรจสูงสุด 1:500
  • ทำงานบนแพลตฟอร์มได้บนทุกอุปกรณ์: Libertex และ Metatrader 4 และ 5
  • ไม่มีค่าคอมมิชชั่นสำหรับพื้นที่ละตินอเมริกา
ย้อนกลับ

สัมผัสกับความน่าตื่นเต้นของการเทรด!

ลงทะเบียนเปิดบัญชีเดโมกับ Libertex และมาเรียนรู้วิธีการเทรด